ช่วงเช้า ปฎิบัติงานกศน.ตำบลหัวเวียง จัดทำข้อมูลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อส่งข้อมูลให้งานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจัดทำป้ายไวนิล
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้คนได้รับอุบัติเหตุปลอดภัยโดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
1. เพื่อป้องกันอันตราย
2. เพื่อช่วยชีวิต
3. เพื่อลดความเจ็บปวด
4. นำส่งโรงพยาบาล
เราต้องเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยดูจากผู้ป่วย ผู้อยู่ในเหตุการณ์ อาการเป็นอย่างไร และประเมินสถานการณ์ ดังนี้
1 . เมื่อพบเห็นผู้บาดเจ็บ ควรดูให้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีเลือดออกหรือไม่ ออกจากที่ใดบ้าง มีความรุนแรงของบาดแผลแค่ไหน ถ้ามีเลือดออก ควรทำการห้ามเลือดเป็นอันดับแรก
2 . ถ้าผู้ป่วยไม่มีเลือดออก ให้ตรวจดูว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ ถ้าร่างกายเย็นชื้น แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรห่มผ้าให้อบอุ่น ให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย
3 . ควรตรวจดูปากผู้ป่วยว่ามีสิ่งอาเจียน หรือสิ่งอื่นใดอุดตันหรือไม่ ถ้ามี ให้รีบล้วงออกเสียเพื่อมิให้อุดตันทางเดินหายใจหรือมิให้สำลักเข้าปอด
4 . ตรวจดูให้แน่ว่าผู้ป่วยหายใจขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้าหยุดหายใจให้รีบทำการผายปอด และตรวจ คลำชีพจรของเส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอว่ายังเต้นเป็นจังหวะหรือไม่ ถ้าคลำชีพจรไม่พบหรือเบามาก ให้จัดการนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอกต่อไป
5 . ตรวจดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายว่ามีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือไม่ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฏิบัติการปฐมพยาบาลแล้วแต่กรณี เช่น ปิดบาดแผล เข้าเฝือกชั่วคราว เป็นต้น
6 . ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าหากต้องการเคลื่อนย้ายควรทำให้ถูกวิธี และมีผู้ช่วยเหลือ หลายคนช่วยกัน
7 . คลายเสื้อผ้าที่รัดร่างกายออก
8 . อย่าให้คนมามุงดุ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
9 . พยายามปลอบใจผู้ป่วยอย่างให้ตื่นเต้นตกใจ อย่าให้ผู้ป่วยมองเห็นบาดแผลและรอยเลือดของตน
10 . ตามแพทย์มาสถานที่เกิดเหตุ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
1. เพื่อป้องกันอันตราย
2. เพื่อช่วยชีวิต
3. เพื่อลดความเจ็บปวด
4. นำส่งโรงพยาบาล
เราต้องเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยดูจากผู้ป่วย ผู้อยู่ในเหตุการณ์ อาการเป็นอย่างไร และประเมินสถานการณ์ ดังนี้
1 . เมื่อพบเห็นผู้บาดเจ็บ ควรดูให้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีเลือดออกหรือไม่ ออกจากที่ใดบ้าง มีความรุนแรงของบาดแผลแค่ไหน ถ้ามีเลือดออก ควรทำการห้ามเลือดเป็นอันดับแรก
2 . ถ้าผู้ป่วยไม่มีเลือดออก ให้ตรวจดูว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ ถ้าร่างกายเย็นชื้น แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรห่มผ้าให้อบอุ่น ให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย
3 . ควรตรวจดูปากผู้ป่วยว่ามีสิ่งอาเจียน หรือสิ่งอื่นใดอุดตันหรือไม่ ถ้ามี ให้รีบล้วงออกเสียเพื่อมิให้อุดตันทางเดินหายใจหรือมิให้สำลักเข้าปอด
4 . ตรวจดูให้แน่ว่าผู้ป่วยหายใจขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้าหยุดหายใจให้รีบทำการผายปอด และตรวจ คลำชีพจรของเส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอว่ายังเต้นเป็นจังหวะหรือไม่ ถ้าคลำชีพจรไม่พบหรือเบามาก ให้จัดการนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอกต่อไป
5 . ตรวจดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายว่ามีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือไม่ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฏิบัติการปฐมพยาบาลแล้วแต่กรณี เช่น ปิดบาดแผล เข้าเฝือกชั่วคราว เป็นต้น
6 . ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าหากต้องการเคลื่อนย้ายควรทำให้ถูกวิธี และมีผู้ช่วยเหลือ หลายคนช่วยกัน
7 . คลายเสื้อผ้าที่รัดร่างกายออก
8 . อย่าให้คนมามุงดุ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
9 . พยายามปลอบใจผู้ป่วยอย่างให้ตื่นเต้นตกใจ อย่าให้ผู้ป่วยมองเห็นบาดแผลและรอยเลือดของตน
10 . ตามแพทย์มาสถานที่เกิดเหตุ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การปฐมพยาบาล บาดแผลเลือดออก
การปฐมพยาบาล หน้ามืดเป็นลม
การปฐมพยาบาล ตะคริว
การปฐมพยาบาล เป็นไข้
การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
โดยผู้บาดเจ็บรู้สึกตัว
ช่วงบ่ายเดินทางไปช่วยจัดเบรค ขนม น้ำ เพื่อเตรียมต้อนรับคณะศึกษาดูงานของกศน.อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย นำคณะโดยท่านผอ.จีรศักดิ์ ผลนาค คณะครูกศน.และแกนนำ ประชาชน นักศึกษา ที่ได้มาเยี่ยมชมสวนเศรษฐกิจพอเพียงของนางสาวคณิต กันทะตั๋น บ้านท่าส้มป่อย หมู่ 1 ตำบลทุ่งฝาย โดยมีท่านผอ.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ อาจารย์ ยุรัยยา อินทรวิจิตร และคณะครูกศน.อำเภอเมืองได้ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานกันอย่างคับคั่ง ครูกศนใตำบลทุ่งฝายได้แนะนำตัวกล่าวต้อนรับคณะฯและแนะนำคุณคณิตหลังจากนั้นคุณคณิตได้พาชมและบรรยายในฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ฐานการปลูกไผ่กิมซูง การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงปลา การดูแลรักษา การขยายพันธ์ุไผ่กิมซูง
ดีมากค่ะ
ตอบลบดีมากค่ะ
ตอบลบ